วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สรุปบทเรียน สัปดาห์ที่ 2 วิชาหลักสูตร
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จัดทำขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานำไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้
5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
จุดหมาย
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะของผู้เรียน
สมรรถนะหมายถึงความสามารถทางใดทางหนึ่ง หลักสูตรใหม่เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ 5 ประการ คือ การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะ-ชีวิต และการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรเดิมไม้มีการกล่าวถึง หลักสูตรใหม่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้. อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ
สถานศึกษาสามารถกำหนดลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมได้
มาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการเรียนรู้
มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ มาตรฐานการเรียนรู้
จะสะท้อนให้ทราบว่า ต้องการอะไร สอนอย่างไร ประเมินอย่างไร
ตัวชี้วัด
ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ รวมทั้งลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ตัวชี้วัด
นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดการสอน เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับวัดผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวชี้วัดมี 2 อย่างคือ ตัวชี้วัดชั้นปี และตัวชี้วัดช่วงชั้น
ตัวชี้วัดชั้นปีใช้กับ ป.1–ม.3 (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี)
ตัวชี้วัดช่วงชั้นใช้กับ ม.4- ม.6 (เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนเฉพาะในระดับม. ปลาย)
-----> มีการทำการบ้าน โดยสรุปออกมาเป็น my map
สรุปบทเรียน สัปดาห์ ที่ 1 วิชาหลักสูตร
เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรรายวิชาพื้นฐานและการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรรายวิชาพื้นฐาน
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด (สาระการเรียนรู้แกนกลาง)
3.รายวิชา/คำอธิบายรายวิชา
4.โครงสร้างรายวิชา
5.หน่วยการเรียนรู้ที่1/หน่วยการเรียนรู้2/หน่วยการเรียนรู้ที่3
6.แผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
1.ผลการเรียนรู้(สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม/ท้องถิ่น)
2.รายวิชา/คำอธิบายรายวิชา
3.โครงสร้างรายวิชา
4.หน่วยการเรียนรู้
5.แผนการจัดการเรียนรู้
การตั้งชื่อรายวิชาพื้นฐานให้ใช้ชื่อตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือใช้ชื่อที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชาส่วนรายวิชาเพิ่มเติมนั้นควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชาเช่นเดียวกันส่วนของคำอธิบายรายวิชาก็จะนำมาจากตัวชี้วัด ก็จะมี 1. ความรู้ (K) 2.ทักษะ/กระบวนการ(P) 3.คุณลักษณะ(A)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)